ความดันโลหิตสูง และ ปัญหาหูอื้อ เสียงดังในหู และเวียนศีรษะบ้านหมุน
รศ. นพ. ปารยะ อาศนะเสน
ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
ความดันโลหิตที่สูง อาจมีผลต่อผู้ป่วยที่มีปัญหาหูอื้อ เสียงดังในหู และ เวียนศีรษะบ้านหมุนได้ โดยจะทำให้เส้นเลือดหดตัว ทำให้เลือดไปเลี้ยงประสาทหู และอวัยวะทรงตัวได้น้อย ทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการได้ยิน และการทรงตัวได้ ดังนั้นผู้ที่มีความดันโลหิตสูงผิดปกติ และมีปัญหาหูอื้อ เสียงดังในหู และเวียนศีรษะบ้านหมุน ควรควบคุมความดันโลหิตโดย
1. ควบคุมอาหาร
การลดน้ำหนักสามารถช่วยลดความดันโลหิตได้ และช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด แม้ท่านจะไม่จัดว่าอ้วน แต่การลดอาหารประเภทไขมันก็เป็นสิ่งที่ดี
การลดน้ำหนักสามารถช่วยลดความดันโลหิตได้ และช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด แม้ท่านจะไม่จัดว่าอ้วน แต่การลดอาหารประเภทไขมันก็เป็นสิ่งที่ดี
- หลีกเลี่ยงหรือลดการใช้เนย ไขมัน และน้ำมันในการปรุงอาหาร
- หลีกเลี่ยงอาหารทอด ให้รับประทานอาหารประเภท อบ นึ่ง ต้ม แทน
- รับประทานอาหารประเภท ผัก ถั่ว ผลไม้ ให้มากขึ้น
- หลีกเลี่ยงการดื่มสุรา
- ดื่มน้ำ กาแฟที่ไม่มีคาเฟอีน นมพร่องไขมัน และน้ำผลไม้
2. รับประทานอาหารที่ไม่เค็มจัด
การรับประทานเกลือมากจะทำให้ความดันโลหิตสูงและไตทำงานหนัก การลดปริมาณเกลือในอาหารควรปรึกษาแพทย์ของท่านก่อน
การรับประทานเกลือมากจะทำให้ความดันโลหิตสูงและไตทำงานหนัก การลดปริมาณเกลือในอาหารควรปรึกษาแพทย์ของท่านก่อน
- หลีกเลี่ยงอาหารประเภทของดองเค็ม เนื้อเค็ม ซุปกระป๋อง ซอสมะเขือเทศ อาหารที่โรยเกลือมากๆ
- ใช้เครื่องเทศแทนเกลือหรือผงชูรส
- รับประทานแต่อาหารว่างที่มีเครื่องหมาย “เกลือต่ำ” (low salt) หรือ “ปราศจากเกลือ” (salt-free)
3. หลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดอารมณ์เครียด
หากเป็นไปได้ พยายามเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่จะทำให้เครียดทั้งที่ทำงาน และที่บ้าน พยายามตอบสนองอย่างมีสติ และนุ่มนวลต่อสภาพที่เครียดซึ่งท่านไม่สามารถเปลี่ยนแปลง หรือหลีกเลี่ยงได้
หากเป็นไปได้ พยายามเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่จะทำให้เครียดทั้งที่ทำงาน และที่บ้าน พยายามตอบสนองอย่างมีสติ และนุ่มนวลต่อสภาพที่เครียดซึ่งท่านไม่สามารถเปลี่ยนแปลง หรือหลีกเลี่ยงได้
4. หยุดสูบบุหรี่
การสูบบุหรี่ เป็นสาเหตุที่สำคัญของการเกิดมะเร็งในปอด อัมพาต โรคหัวใจขาดเลือด และความดันโลหิตสูงได้ บุหรี่ทำให้เกิดการทำลาย และส่งเสริมการหดตัวของหลอดเลือดทำให้เพิ่มอัตราเสี่ยงต่อการเกิดอัมพาต
การสูบบุหรี่ เป็นสาเหตุที่สำคัญของการเกิดมะเร็งในปอด อัมพาต โรคหัวใจขาดเลือด และความดันโลหิตสูงได้ บุหรี่ทำให้เกิดการทำลาย และส่งเสริมการหดตัวของหลอดเลือดทำให้เพิ่มอัตราเสี่ยงต่อการเกิดอัมพาต
5. งด หรือ ลดการดื่มแอลกอฮอล์
การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก เป็นสาเหตุของความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดสูง ควรงดหรือดื่มในปริมาณน้อย เช่นในวันหนึ่งๆ ไม่ควรดื่มสุราเกิน 60 ลบ. ซม. เบียร์ 720 ลบ. ซม. ไวน์ 240 ลบ. ซม.
การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก เป็นสาเหตุของความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดสูง ควรงดหรือดื่มในปริมาณน้อย เช่นในวันหนึ่งๆ ไม่ควรดื่มสุราเกิน 60 ลบ. ซม. เบียร์ 720 ลบ. ซม. ไวน์ 240 ลบ. ซม.
6. ออกกำลังกายแต่พอประมาณ
การเดินวันละ 20-30 นาที จะช่วยท่านลดน้ำหนักได้ ช่วยทำให้ระบบไหลเวียนของเลือดดีขึ้น และป้องกันโรคของหลอดเลือดได้ ก่อนเริ่มออกกำลังกายใดๆ ควรปรึกษาแพทย์ของท่านก่อน
การเดินวันละ 20-30 นาที จะช่วยท่านลดน้ำหนักได้ ช่วยทำให้ระบบไหลเวียนของเลือดดีขึ้น และป้องกันโรคของหลอดเลือดได้ ก่อนเริ่มออกกำลังกายใดๆ ควรปรึกษาแพทย์ของท่านก่อน
7. รับประทานยาให้สม่ำเสมอตามแพทย์สั่ง
- แจ้งให้แพทย์ของท่านทราบถึงยาต่างๆ ที่ท่านรับประทานอยู่ เช่น ยาคุมกำเนิด ยาแก้ปวด เป็นต้น
- รับประทานยาตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด
- หากมียาชนิดใดที่ทำให้ท่านรู้สึกไม่สบาย ควรแจ้งให้แพทย์ของท่านทราบทันที เพราะท่านอาจต้องการยาในขนาดที่ลดลง หรือเปลี่ยนยา
- รับประทานยาให้สม่ำเสมอ จนกว่าแพทย์ของท่านจะบอกให้หยุด
8. ตรวจวัดความดันโลหิตสม่ำเสมอ
ในกรณีท่านมีเครื่องวัดความดันโลหิตที่บ้าน ควรปรึกษาแพทย์เพื่อเรียนรู้วิธีวัดความดันโลหิตที่ถูกต้อง อาจทำการวัดความดันโลหิตสัปดาห์ละครั้ง หรือเมื่อมีอาการเครียด ปวดศีรษะ ไม่จำเป็นต้องวัดความดันโลหิตถี่เกินความจำเป็น และควรจดบันทึกวัน เวลา ค่าที่วัดได้ทุกครั้ง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อแพทย์ของท่านในการควบคุมความดันโลหิต
ในกรณีท่านมีเครื่องวัดความดันโลหิตที่บ้าน ควรปรึกษาแพทย์เพื่อเรียนรู้วิธีวัดความดันโลหิตที่ถูกต้อง อาจทำการวัดความดันโลหิตสัปดาห์ละครั้ง หรือเมื่อมีอาการเครียด ปวดศีรษะ ไม่จำเป็นต้องวัดความดันโลหิตถี่เกินความจำเป็น และควรจดบันทึกวัน เวลา ค่าที่วัดได้ทุกครั้ง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อแพทย์ของท่านในการควบคุมความดันโลหิต