สรรพคุณต่างๆ ของกระเทียม มีดังนี้
1. ฆ่าเชื้อรา คือ กลาก เกลื้อน และเชื้อราที่เกิดตามเล็บ หนังศีรษะและผม
2. ฆ่าเชื้อยีสต์ชนิดที่ทำให้เกิดลิ้นขาวเป็นฝ้าในเด็กทารก และทำให้เกิดโรคมุตกิดระดูขาวที่มักจะเกิดในหญิงที่ตั้งครรภ์ หรือกินยาคุมกำเนิด ยาปฏิชีวนะหรือยาสเตียรอยด์เป็นเวลานานๆ
3. ลดความดันโลหิตสูง
4. ลดไขมันและคอเลสเตอรอล
5. ป้องกันผนังหลอดเลือดหนาและแข็งตัว
6. ลดน้ำตาลในเลือด
7. ฆ่าหรือยับยั้งเชื้อแบคทีเรียแทบทุกชนิด กล่าวคือ มีสารอัลลิซิน ที่มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียที่มักทำให้เกิดโรคได้ถึง 15 ชนิด โดยเฉพาะยับยั้งเชื้อพวกที่ดื้อยาเพนนิซิลินได้ดีกว่าเชื้อพวกที่ไม่ดื้อยาอีกด้วย นอกจากนี้ ยังฆ่าเชื้อบิดมีตัวที่มีพิษต่อลำไส้ได้ดี โดยมีสารที่สำคัญคือกาลิซิน รวมทั้งสามารถยับยั้งเชื้อบิดเทียม ซึ่งไม่รบกวนแบคทีเรียตัวอื่นที่มีประโยชน์ต่อลำไส้
8. ยับยั้งเชื้อต่างๆ เช่น เชื้อที่ทำให้เกิดฝีหนอง และใช้รักษาแผลสด แผลที่เป็นหนอง คออักเสบ ทอนซิลอักเสบ ทางเดินปัสสาวะอักเสบ เชื้อวัณโรค และเชื้อปอดบวม
9. รักษาไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่
10. เป็นยาขับเสมหะและมีฤทธิ์ขับเหงื่อและขับปัสสาวะ
11. รักษาโรคไอกรน
12. แก้หืดและโรคหลอดลม
13. แก้ธาตุพิการอาหารไม่ย่อย
14. ควบคุมโรคกระเพาะ คือมีสารเอเอส 1 ช่วยยับยั้งไม่ให้น้ำย่อยอาหารมาย่อยแผลในกระเพาะ และยังช่วยรักษาโรคตับอ่อนอักเสบชนิดรุนแรงได้ด้วย
15. ขับพยาธิต่างๆ ได้หลายชนิด ได้แก่ พยาธิเข็มหมุด พยาธิแส้ม้า พยาธิเส้นด้าย และมีรายงานทดสอบจากอินเดียว่า กระเทียมมีสารไดอัลลิลไดซัลไฟด์ มีฤทธิ์ใช้ฆ่าพยาธิไส้เดือนได้ดี
16. แก้เคล็ดขัดยอกและเท้าแพลง เพราะมีสารอัลลิซินเป็นตัวช่วยทำให้เลือดไหลเวียนมายังบริเวณที่ทาถูนวดยาได้ดีมากขึ้น
17. แก้ปวดข้อและปวดเมื่อย
18. ต่อต้านเนื้องอก
19. กำจัดพิษตะกั่ว
20. บำรุงร่างกาย ประเทศญี่ปุ่นได้ค้นพบสารในกระเทียมชื่อสคอร์ดินิน ไม่มีกลิ่น แต่มีประโยชน์ต่อร่างกายหลายอย่าง รวมทั้งช่วยให้เนื้อเยื่อเจริญเติบโตและช่วยลดไขมันในร่างกาย
ยังมีผู้พบว่าในกระเทียมมีธาตุเจอร์เมเนียมค่อนข้างสูง ซึ่งมีคุณสมบัติป้องกันการเกิดมะเร็ง โรคหืด โรคไต โรคตับอ่อนและอาการท้องผูก รวมถึงมีสารชักนำวิตามินบี 1 เข้าสู่ร่างกายได้ดีขึ้นเท่าตัว โดยรวมเป็นสารอัลลิลไทอะมิน ทำให้วิตามินบี 1 ออกฤทธิ์ได้ดีขึ้นถึง 20 เท่า
กระเทียมแทบจะเป็นผักสารพัดประโยชน์เพราะใช้ทั้งป้องกันและรักษาได้หลายโรค เรื่องของกระเทียมกับความดันโลหิตสูงมีระบุไว้ในตำรับยาจีนโบราณ ส่วนในสมัยนี้ชายเยอรมันซึ่งโดยเฉลี่ยมีการศึกษาสูงนิยมรับประทานกระเทียมเพื่อช่วยลดความดันโลหิต ในประเทศเยอรมนีเคยมีการศึกษาทางการแพทย์ที่น่าสนใจกล่าวถึงการรับประทานกระเทียมเป็นประจำวันละ 2 กลีบโต ๆ ว่าสามารถลดความดันโลหิตโดยเฉลี่ยจาก 171/102 เหลือ 152/89 ได้ ในการทดลองเดียวกันกลุ่มที่ได้ยาหลอก (placebo) จะพบว่าความดันโลหิตไม่เปลี่ยนแปลงเท่าใด นัก
เชื่อกันว่ากระเทียมลดความดันได้เพราะมีสารพฤกษาเคมีชื่อ แอดีโนซีน (adenosine) เป็นองค์ประกอบในปริมาณค่อนข้างสูง สารนี้ช่วยทำให้กล้ามเนื้อเรียบที่เป็นกล้ามเนื้อของหลอดเลือดคลายตัวมากกว่าปกติในหัวหอมก็มีสารนี้พอสมควร และยังพบว่ามีสารพรอสทาแกลนดิน A1 ชนิดนี้เป็นสารกึ่งฮอร์โมนที่ช่วยให้กล้ามเนื้อเรียบคลายตัวได้ มีฝรั่งจำนวนไม่น้อยที่ไม่รับประทานกระเทียม โชคดีของคนไทยที่ไม่ใคร่กลิ่นเรื่องกลิ่นกระเทียม ชอบรับประทานทั้งแบบสดและปรุง อันที่จริงกระเทียมทุกรูปแบบให้คุณค่าไม่ต่างกันนัก เพียงแต่กระเทียมสดอาจมีฤทธิ์มากกว่า
อาจารย์คาริน รีด แห่งคณะแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป ได้พบว่า สารสกัดจากหัวกระเทียม แก่มีสรรพคุณลดความดันโลหิตลงได้ โดยเฉพาะจะใช้บำบัดรักษา ชาวเมืองจิงโจ้ที่เป็นโรคนี้กันอยู่มากถึง 3,700,000 คน จากการทดลองกับผู้ป่วย 50 ราย เป็นเวลา 3 เดือน ได้รู้ว่า ควรให้มันเป็นตัวช่วยของยารักษาโรคนี้ปกติได้ดี “เพราะยังมีคนไข้คิด เป็นสัดส่วนใหญ่ ที่ยังกินยาประจำอยู่ และบางรายที่ใช้ยารักษาขนานต่างๆกันอีก 4 ขนาน แต่ความดันก็ยังไม่อาจควบคุมได้ ครั้นเมื่อเราให้กินสารสกัดของกระเทียมเสริม ปรากฏว่าลดความดันให้กลับมาอยู่ในระดับปลอดภัยได้ ดังนั้น กระเทียมจึงอาจเป็นวิธีการบำบัดให้เติมเต็ม ของการควบคุมความดันโลหิตที่ดีอย่างหนึ่ง” คณะนักวิจัยได้พบว่า ผู้ที่มีความดันเลือดตัวบนเกิน 140 เมื่อให้กินแคปซูลสารสกัดกระเทียม วันละ 4 หลอด ทุกวัน ความดันจะลดได้โดยเฉลี่ย 10.2 มม. อย่างไรก็ดี กระเทียมดิบ หรือกระเทียมที่ปรุงสุกแล้วและกระเทียมผง หามีสรรพคุณเท่าสารสกัดจากหัวกระเทียมแก่ไม่