Pages

Long Live The king

Long Live The king

August 24, 2012

เทศกาล "ชีซี" หรือ "วันวาเลนไทน์จีน"

เทศกาล "ชีซี" หรือ "วันวาเลนไทน์จีน"









เทศกาล "ชีซี" ตรงกับวันแรม 7 ค่ำ เดือน 7 ตามตำนานจของหนุ่มเลี้ยงวัวกับสาวทอผ้า ถือเป็น "วันวาเลนไทน์จีน" ยังมีชื่อเรียกอื่น เช่น "ชีเฉี่ยวเจี๋ย" (乞巧节) เทศกาลขอให้ประสิทธิประสาทความประณีตละเอียดอ่อน "เซ่าหนี่ว์เจี๋ย" (少女节) เทศกาลเด็กสาว หรือ "หนี่ว์เอ๋อร์เจี๋ย" (女儿节) เทศกาลหญิงสาว
       
       นอกจากจะมีการเลี้ยงฉลองของคู่รักแล้ว หญิงชาวจีนจะร่วมกันร้อยด้ายสอยเข็มตามประเพณีดั้งเดิม และอวยพรให้มีความสุข เป็นต้น
       
       ...ตามตำนานวันแห่งความรักของจีน หรือชีซี (七 夕) เล่าว่า วันหนึ่ง จือหนี่ว์(สาวทอผ้า) หนึ่งในเจ็ดนางฟ้าเกิดเบื่อหน่ายชีวิตสุขสบายบนสวรรค์ จึงแอบหนีลงมาบนโลก และแต่งงานกับชายเลี้ยงวัว ซึ่งจือหนี่ว์แอบหลงรักตั้งแต่อยู่บนสวรรค์แล้ว
       
       เมื่อเจ้าแม่หวังหมู่บนสวรรค์ทราบเรื่องนี้ก็พิโรธมาก ลงมาบังคับให้จือหนี่ว์เลือกระหว่างการกลับไปยังสวรรค์ตามเดิม หรือจะให้สามีและลูกๆ ถูกสังหาร นางฟ้าจือหนี่ว์จึงต้องเลือกจากโลกมนุษย์ไป
       
       จากความช่วยเหลือของวัวเฒ่า ชายเลี้ยงวัวได้เดินทางไปตามหาจือหนี่ว์บนสวรรค์ แต่ถูกเจ้าแม่หวังหมู่ขัดขวาง ใช้ปิ่นปักผมของพระนางเสก ‘แม่น้ำเงิน’ ที่ทั้งกว้างและยาว หนุ่มเลี้ยงวัวไม่สามารถข้ามได้ คู่รักจึงถูกพรากจากกัน เจ้าแม่หวังมู่เห็นใจจึงอนุญาตให้ทั้งสองพบกันปีละครั้งในคืนแรม 7 ค่ำ เดือน 7 
       
       ในคืนแรม 7 ค่ำ เดือน 7 นี้ ฝูงนกกระเรียนที่ซาบซึ้งในความรักของทั้งสองได้เหินเรียงตัวกันเป็นสะพาน ให้คู่รักได้ดำเนินมาพบกัน...
       
       นับเป็นตำนานแห่งความรักที่หวานซึ้งที่สุดของจีน และเป็นที่มาของวัน ‘ชีซี’ หรือวันแห่งความรักของแดนมังกร.

ขอบคุณเรื่อง(บางส่วน) และภาพ: Manageronline

ขนมจู๋ ขนมจิ๋ม เรื่องเล่าชาวจีนในไทย ย่านวัดมังกร 


ขนมจู๋-ขนมจิ๋มนี้จะนิยมไหว้กันทั้งสิ้น 7 ชิ้นแทน 7 นางฟ้า หรือ 14 ชิ้น (จู่ 7 จิ๋ม 7) แทนอายุของเด็กที่เจริญวัยผ่านวัย 14 ปีมาได้


1. ขนมจู๋ มีชื่อทางภาษาจีนแต้จิ๋วว่า "เจี๊ยะลิ้วก้วย (石榴粿)" ที่แปลว่า ขนมทับทิมอันเป็นตัวแทนของเด็กผู้ชาย มีลักษณะนูนสูงคล้ายผลน้ำเต้า แต่ผู้คนมักออกเสียงไปว่า "เซี๊ยะลิ้วก้วย"

2. ขนมจิ๋ม มีชื่อทางภาษาจีนแต้จิ๋วว่า "ซาเจี่ยวเล้าก้วย หรือ ซากั๊กเล้าก้วย (三角楼粿)" ที่แปลว่า ขนมสามมุมชั้น อันเป็นตัวแทนของเด็กผู้หญิง มีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยม
เขาจะใช้ไหว้พ่อซื้อแม่ซื้อและเจ็ดนางฟ้ากันในวันที่ 7 เดือน 7 จีน โดยเมื่อบุตรชาย - หญิงมีอายุครบ 15 ปี (คนจีนนับในที่อยู่ในท้องด้วย 1 ปี จึงเท่ากับอายุ 14) จะถือว่าบุตรของเราอยู่รอดมาจนแตกเนื้อหนุ่มเนื้อสาวกันแล้ว ชาวจีนจึงนำขนมนี้มาทำการเซ่นไหว้เพื่อเป็นการขอบคุณ

ส่วนผู้ที่ยังไม่มีบุตรก็จะนำขนมนี้มาเซ่นไหว้เพื่อทำการขอบุตร เมื่อไหว้เสร็จแล้วให้ลากลับไปกิน ถ้าต้องการบุตรเพศไหนก็ให้กินขนมเพศนั้น

ขนมจู๋-ขนมจิ๋มนี้จะนิยมไหว้กันทั้งสิ้น 7 ชิ้นแทน 7 นางฟ้า หรือ 14 ชิ้น (จู่ 7 จิ๋ม 7) แทนอายุของเด็กที่เจริญวัยผ่านวัย 14 ปีมาได้ สิ่งนี้ผมจึงอยากนำมาบอกกล่าวเล่าให้ลูกหลานชาวจีนฟังกันเพื่อเราจะได้ทราบและไม่ลืมเลือนวัฒนธรรมอันดีงามของเผ่าพันธุ์มังกรของเรา ... 






ขอบคุณเรื่อง (บางส่วน)และภาพ:Facebook คุณอมเรศ กาลปุตรา