Pages

Long Live The king

Long Live The king

October 19, 2011

Love is not about finding the right person,but creating a right relationship.

Memorale quotes from Notting Hills
http://www.allbestmessages.com/sms-text-messages/Love-Messages.php
Love is not about finding the right person,
but creating a right relationship.
It's not about how much love you have in
the beginning but how much love you build till the end
****

Notting Hill
Anna Scott: You know what they say about men with big feet.
William: No, I don't, actually. What'...

Coenzyme Q10


Coenzyme Q10 (CoQ10) คืออะไร ?
เซลล์เป็นโครงสร้างที่สำคัญมากที่สุดของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด แต่ละเซลล์มีองค์ประกอบและสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยตัวเอง โดยการนำสารอาหารเข้าไปและเปลี่ยนสารอาหารให้กลายเป็นพลังงานเพื่อความอยู่ รอดของเซลล์นั้น ๆ
ในการสร้างพลังงานนั้นจะเกิดขึ้นบริเวณเซลล์ในส่วนที่เรียกว่า “ไมโตครอนเดรีย (Mitochondria)” ดังนั้นถ้าเซลล์ได้รับพลังงานไม่เพียงพอก็จะทำให้เซลล์ทำงานผิดปกติ ตัวอย่างเช่น หากเซลล์หัวใจไม่ได้รับพลังงาน หัวใจก็ไม่สามารถที่จะทำงานได้ตามปกติ หรือหากเซลล์ผิวหนังไม่มีพลังงานก็จะทำให้ผิวหนังเหี่ยวย่นก่อนวัยอันควร ดังนั้นพลังงานระดับเซลล์จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมากสำหรับเรา เมื่อเรามองเห็นถึงความสำคัญของพลังงานระดับเซลล์แล้วก็จะเกิดคำถามว่าแล้ว เราจะทำให้มีการผลิตพลังงานระดับเซลล์ได้อย่างสมบูรณ์อย่างไร ซึ่งคำตอบคือ “โคเอ็นไซม์คิวเท็น”
CoQ10 เป็นสารซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในไมโตคอนเดรีย(Mitochondria) ซึงไมโตคอนเดรียนี้ ทำหน้าที่ผลิตพลังงานให้แก่เซลล์โดยพลังงานดังกล่าวจะอยู่ในรูป ATP(Adenosine triphosphate) ซึ่งเป็นพลังงานพื้นฐานของเซลล์ หน้าที่หลักของ CoQ10 คือช่วยในการเร่งปฏิกิริยาผลิตพลังงานภายในร่างกายทั้งหมด
Coenzyme Q10 (CoQ10) มีประโยชน์อย่างไร ?
ในปัจจุบันพบว่า CoQ10 มีประโยชน์อย่างมากทั้งในเรื่องของการเป็นสารที่ช่วยในการต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) และช่วยในการป้องกันและรักษาโรคต่างๆมากมาย (แต่ในที่นี้จะขอกล่างถึงเฉพาะประโยชน์ทางด้านความสวยความงาม)
โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด Cardiovascular disease
ภาวะหัวใจล้มเหลวเนื่องจากเลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่เพียงพอ (Congestive Heart Failure)
ความดันโลหิตสูง(Hypertension)
กล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง, หัวใจโต (Cardiomyopathy)
มะเร็ง (Cancer)
ลดริ้วรอย ชะลอการเสื่อมของเซลล์ผิวหนัง (Anti-aging/Skin care)
ผิวหนังมีหน้าที่ในการป้องกันสารพิษ เชื้อโรค และรังสีอัลต้าไวโอเลต(Ultraviolet) จากแสงอาทิตย์ โดยรังสีอัลตร้าไวโอเลตนี้มี 2 ชนิด คือ UVA และ UVB แต่ที่เกี่ยวข้องกับการเกิดริ้วรอยจะเป็นรังสี UVA โดย UVA สามารถทะลุผ่านชั้นผิวหนังถึงชั้นหนังแท้ และจะเริ่มต้นในการสร้างอนุมูลอิสระ (Free Radical) ซึ่งอนุมูลอิสระนี้เป็นผลิตผลที่เกิดขึ้นจากกระบวนการออกซิเดชั่น (Oxidation) อนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นนี้ก็จะทำอันตรายต่อไขมัน โปรตีน และสารพันธุกรรม(DNA) ในเซลล์ผิวหนัง รวมถึงทำให้เกิดการทำลายของ คอลลาเจน(Collagen) และโครงสร้างอื่นๆของผิวหนัง สูญเสียความยืดหยุ่น ขาดความกระชับเกิดริ้วรอยและความหมองคล้ำ CoQ10 เป็นสารต้านออกซิเดชั่น (Antioxidant) โดยจะไปป้องกันไม่ให้เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่น ที่จะทำให้อนุมูลอิสระซึ่งจะทำอันตรายต่อผิวหนัง นอกจากนี้ CoQ10 พบมากที่ผิวหนังชั้นนอก(Epidermis)มากกว่าที่ผิวหนังชั้นใน(Dermis)ซึ่งเป็น ผิวหนังชั้นที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากรังสี UVA จึงเป็นข้อดีอีกประการที่จะช่วยขจัดอนุมูลอิสระ(Free radical) ซึ่งเป็นสาเหตุของริ้วรอยและความหมองคล้ำ
นอกจากหน้าที่ในการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระของผิวแล้ว Coenzyme Q10 คิวเท็นเปรียบเสมือนแหล่งผลิตพลังงานให้กับเซลล์ผิวหนัง หากเซลล์ผิวหนังได้รับพลังงานไม่เพียงพอก็จะทำให้เซลล์ทำงานผิดปกติก็จะทำให้ผิวหนังเหี่ยวย่นก่อนวัยอันควร
มีงานศึกษาวิจัยเกี่ยวกับผลของ CoQ10 ต่อการลดริ้วรอยมากมายว่าสามารถทำให้ความลึกของริ้วรอยลดลง เช่นการศึกษาของ Gerson Unna พบว่าภายหลังที่กลุ่มทดลองได้รับ CoQ10 ในระยะเวลา 6 สัปดาห์ ริ้วรอยลดลงกว่า 27 % และเมื่อได้รับ CoQ10 ต่อไปเป็นระยะเวลา 10 สัปดาห์ริ้วรอยลดลงกว่า 43%
เหตุใดจึงต้องทาน Coenzyme Q10 คิวเท็น ในรูปของอาหารเสริม ?
แม้ว่าเราสามารถสังเคราะห์ Coenzyme Q10 ได้เองที่ตับ ประกอบกับยังได้รับจากอาหารที่รับประทาน ซึ่งอาหารประเภทเนื้อสัตว์ เช่น ปลาซาร์ดีน ปลาแซลมอน เครื่องในสัตว์ ไข่ ถั่วเปลือกแข็ง ข้าวกล้อง และงา ซึ่งจะให้ Q10 สูง แต่ด้วยกระบวกการผลิต แปรรูป ปรุงอาหาร ด้วยความร้อน แสง และอากาศ จะทำให้ Q10 เสื่อมสลายไม่พอเพียงต่อความต้องการ
แต่จะสร้าง Coenzyme Q10 จะมีปริมาณที่ลดลงเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น มากกว่า 20ปีขึ้นไป นอกจากนี้ยังมีปัจจัยภายนอกที่ทำให้ปริมาณ โคเอนไซม์ Q10 ในร่างกายลดลงได้อีก เช่น ผลกระทบจากสภาพแวดล้อม การพักผ่อนไม่เพียงพอ การได้รับยา หรือสารเคมี แม้แต่ความเครียด ก็ล้วนแต่มีผลทำให้ปริมาณโคเอนไซม์ Q10 ในร่างกายลดลงทั้งสิ้น
ขนาดรับประทาน
วันละ 10-30 มก.ขึ้นอยู่กับสภาวะของร่างกายและวัย
ชุดโปรโมชั่นลบริ้วรอย รับประทาน ทานคอลลาเจนวันละ 2 เม็ด+ วิตามินซี 1 เม็ด รวมเป็น 3 เม็ดตอนท้องว่าง(ก่อนอาหาร 15-30 นาทีหรือหลังอาหาร 1 ชม.) ส่วน Q10 ทานอีก 1 เม็ด พร้อมอาหารมื้อหนัก
ผลข้างเคียง
จากการวิจัยพบว่า การบริโภคโอเอน”ซม์คิวเทนในปริมาณที่สูงถึง 200 มก.ต่อวันในรูปแบบของเม็ดยา เป็นเวลา 1-6 ปี
พบว่า น้อยกว่า 1% ของผู้บริโภคมีอาการไม่สบายท้อง คลื่นใส้ และท้องร่วง โดยไม่พบผลข้างเคียงใดๆที่รุนแรง
ข้อห้ามใช้
ยังไม่มีรายงานการวิจัยที่ชัดเจนของความปลอดภัยในการใช้โคเอนไซม์คิวเทนในหญิงตั้งครรภ์และหญิงให้นมบุตร ดังนั้นหญิงตั้งครรภ์และหญิงให้นมบุตรจึงควรหลีกเลี่ยง



 *****

Co-enzyme Q10 หรือ Co-Q 10
        Co-Q10 เป็นสารที่มีบทบาทในการเพิ่มพลังงานให้แก่เซลล์ เพื่อใช้เป็นพลังงานในร่างกาย เป็นสารสำคัญใน การสังเคราะห์ Adeno-sinetriphosphate (ATP) ซึ่งเปรียบได้กับขุมพลังงาน ของเซลล์ทั่วร่างกาย Co-enzyme Q10 เป็นตัวต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพสูง ช่วยปกป้องเซลล์จากการทำร้ายของอนุมูลอิสระช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคร้าย ซึ่งมาจากการเสื่อมสภาพของเซลล์ เช่น โรคหัวใจ ข้อเสื่อม อัมพาต หรือ โรคที่เกิดจากความเสื่อมสภาพวัย ตามปกติร่างกายสามารถผลิต Co-Q10 ได้โดยการสกัดและสังเคราะห์ผ่านตับ โดยดูดซึมสารอาหาร ที่ได้ในแต่ละวัน และเก็บสะสม ไว้ในเซลล์ไมโตคอนเดรีย ซึ่งเซลล์นี้มีอยู่มาก ในหัวใจ สมอง และกล้ามเนื้อ แต่เมื่ออายุมากขึ้นการทำงานของร่างกาย ในระบบต่างๆ ก็เสื่อมถอยลง ตับก็ไม่สามารถสังเคราะห์ Co-Q10 ได้ในปริมาณเท่าเดิม สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ริ้วรอย และความเสื่อม ของระบบต่างๆ
       เราสามารถพบ Co-Q10 ได้ในอาหารประเภทเนื้อสัตว์ เช่น ปลาซาร์ดีน ปลาแซลมอน เครื่องในสัตว์ ไข่ ถั่วเปลือกแข็ง ข้าวกล้อง และงา
ชื่อพ้อง:  Coenzyme Q, Coenzyme Q10, CO Q10, Ubidecarenone, Ubiquinone 10
Class:  จัดอยู่ในกลุ่ม antioxidant
กลไกการออกฤทธิ์
      Coenzyme Q10 เป็น coenzyme ที่จำเป็นของร่างกายมีลักษณะคล้ายเป็นวิตะมิน มีโครงสร้างเหมือนวิตะมิน K โดยจะพบที่ในเยื่อหุ้มของ mitochondria ที่อยู่ที่หัวใจ ตับ ไต และตับอ่อน มีบทบาทสำคัญในการขนส่งอิเล็กตรอนใน mitochondria และการสร้าง adrenosine triphosphate (ATP) Coenzyme Q10 มีคุณสมบัติในการเป็น membrane stabilizing โดยตรงและเป็น antioxidant
       ผลต่อหัวใจ มีประโยชน์ในการป้องกันการถูกทำลายของเซลในระหว่างที่เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดและเพิ่ม reperfusion
ขนาดที่ใช้
       ผู้ใหญ่
       IV: ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ขนาด 50 – 100 mg ต่อวัน นาน 3-35 วัน เพื่อใช้ในการรักษาภาวะหัวใจล้มเหลวระดับรุนแรง (severe heart failure)
       รับประทาน: Coenzyme Q10 โดยทั่วไปจะบรรจุอยู่ใน soft gelatin capsules ซึ่งยาจะละลายอยู่ในน้ำมันถั่วเหลือง (soybean oil)
         -  การรักษา chronic congestive heart failure ซึ่งได้รับ conventional therapy ร่วมด้วย รับประทานขนาด 50-150 mg ต่อวัน แบ่งให้ 2-3 ครั้งต่อวัน จากการศึกษาใช้ยาต่อเนื่องนานถึง 6 ปี
         -  การรักษา chronic stable angina รับประทานขนาด 150-600 mg ต่อวัน แบ่งให้ 2-3 ครั้งต่อวัน
         -  การใช้ยาก่อนการผ่าตัดหัวใจ โดยใช้ยารับประทาน 100 mg ต่อวัน นาน 14 วันก่อนการผ่าตัดและตามด้วยขนาด 100 mg ต่อวัน นาน 30 วันหลังการผ่าตัด
         -  การรักษา periodontal disease  ใช้ขนาด 25 mg รับประทานวันละ 2 ครั้ง ขณะนี้ยังมีข้อมูลจำกัด
         -  การรักษา Huntington’s disease รับประทานขนาด 800-1200 mg ต่อวัน
         -  การใช้ป้องกัน migraine รับประทานขนาด 150 mg ต่อวัน โดย Coenzyme Q10 จะไปมีผลลดความถี่ของการปวดศีรษะแต่ไม่มีลดระดับความรุนแรงของการปวดศีรษะ
         -  การรักษา neurological disease (ที่เกี่ยวข้องกับการขาดการสร้าง mitochondrial ATP) รับประทานขนาด 150 mg หรือมากกว่า ต่อวัน
         -  การรักษา Parkinson’s disease รับประทานขนาด 800-1200 mg ต่อวัน โดย Coenzyme Q10 อาจไปมีผลทำให้การดำเนินของโรคพาร์กินสันช้าลง ในผู้ป่วยที่เพิ่งพบว่าป่วยเป็นโรคพาร์กินสัน แต่ยังจำเป็นต้องมีการศึกษาขนาดใหญ่เพิ่มเติม
     เด็ก
       ขนาดที่ใช้โดยทั่วไปรับประทาน 2.4 – 3.8 mg/kg/day
       การรักษา mitochondrial encephalomyoparthy รับประทาน 30 mg ต่อวัน
ข้อห้ามใช้
      ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่แพ้ Coenzyme Q10 หรือส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์
ข้อควรระวัง
      -  ระวังการใช้ในผู้ป่วยทางเดินน้ำดีอุดตัน
      -  ระวังการใช้ร่วมกับยาลดไขมันในเลือด (ระดับ Coenzyme Q10 ในเลือดจะมีระดับต่ำในผู้ป่วยที่มีระดับไขมันในเลือดสูง) และ HMG-CoA reductase inhibitors อาจมีผลยับยั้งการสร้างของ Coenzyme Q10 โดยธรรมชาติ เนื่องจาก HMG-CoA reductase ช่วยในการสร้าง Coenzyme Q10
      -  ระวังการใช้ร่วมกับยาลดระดับน้ำตาลในเลือด เนื่องจากยาอาจไปยับยั้งผลของ Coenzyme Q10 ที่ได้รับเข้าไป
      -  ระวังการใช้ในผู้ป่วยเบาหวาน เพราะอาจจะทำให้ลดความต้องการ insulin
      -  ระวังการใช้ในผู้ป่วยที่ตับและไตทำงานผิดปกติ เพราะอาจจะเกิดการสะสมของ Coenzyme Q10 ในเลือด
เภสัชจลนศาสตร์
     -  onset: สำหรับการรักษา congestive heart failure รับประทานนาน 2 สัปดาห์ถึง 3 เดือนจึงจะเริ่มเห็นผลการตอบสนองการรักษา
     -  ระดับยาในเลือดที่ให้ผลในการรักษา (Therapeutic drug concentration):
          Angina: 2.2 mcg/ml
          Congestive heart failure: 2 – 2.5 mcg/ml หรือมากกว่า
          ระดับยาปกติในเลือด 0.7 – 1 mcg/ml
      -  Time to peak: 5 – 10 ชั่วโมง (ในรูปแบบการรับประทาน)
      -  Bioavailability:  ยาจะถูกดูดซึมอย่างช้า เนื่องจากน้ำหนักโมเลกุลมากและการละลายน้ำได้น้อย
      -  Distribution sites: ตับ หัวใจ ไต และตับอ่อน
      -  Metabolism: ถูก metabolized ที่ตับแต่ไม่ทราบปริมาณ
      -  Excretion: ถูกขับออกทางน้ำดี ไม่ทราบปริมาณ ทางอุจจาระ 60%
      -  Elimination half-life: 34 ชั่วโมง
อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา
      -  ผลต่อผิวหนัง:  ผื่นแดงและคัน (< 0.5%)
      -  ผลต่อระบบทางเดินอาหาร:  คลื่นไส้ รู้สึกไม่สบายท้อง ท้องเสีย จุกแน่นท้อง และลดความอยากอาหาร (< 1%)
      -  ผลต่อระบบเลือด: พบ thrombocytopenia (ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ) 1 รายในผู้ป่วยที่ใช้ยา 16 รายในหนึ่งการศึกษา
      -  ผลต่อตับ: พบอาจเกิดความเป็นพิษต่อตับ โดยพบมีรายงานการเพิ่มขึ้นของระดับ aminotransferases  ในเลือดในระดับต่ำ เมื่อมีการใช้ยาในขนาดสูง มีพบการใช้ในขนาด 300 mg ต่อวัน
      -  ผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง: ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ พบน้อย
      -  ผลต่อตา: มีรายงานการเกิด photophobia (อาการกลัวแสง) ในระหว่างการใช้ Coenzyme Q10 ได้แต่พบน้อย
Drug interaction
      Coenzyme Q10 - Antithrombin III Human, Heparin, Warfarin: ลดผล anticoagulant effect มีรายงานการทำให้ระดับ INR ลดลงในการใช้ Coenzyme Q10 ในผู้ป่วยที่ใช้ยา warfarin อยู่ เนื่องจาก Coenzyme Q10 และ vitamin K2 มีโครงสร้างเหมือนกัน ดังนั้นจึงควรระมัดระวังการใช้ร่วมกัน
      รายการยาที่มีรายงานการเกิดปฏิกิริยาระหว่างกันกับ Coenzyme Q10 ได้แก่
      Acenocoumarol, Ancrod, Anisindione, Antithrombin III Human, Bivalirudin, Danaparoid, Defibrotide, Dermatan Sulfate, Desirudin, Dicumarol, Fondaparinux, Heparin, Pentosan, Polysulfate Sodium, Phenindione, Phenprocoumon, Warfarin

หมายเหตุ
     -  สำหรับการใช้ในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงยังมีข้อมูลจำกัด มีผู้ป่วยที่เป็น essential hypertension 26 รายได้รับ Coenzyme Q10 ขนาด 50 mg วันละ 2 ครั้ง หลังจาก 10 สัปดาห์ของการรักษาผู้ป่วยมีค่าเฉลี่ยของ systolic blood pressure ลดลงจาก 164.5 เป็น 146.7 mmHg และค่าเฉลี่ย diastolic blood pressure ลดลงจาก 98.1 เป็น 86.1 mmHg การลดลงของระดับความดันโลหิตเกี่ยวข้องอย่างมีนัยสำคัญเกี่ยวกับการลด peripheral resistance แต่ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงระดับ rennin ในเลือด, ระดับโซเดียมและโพแทสเซียมในเลือดหรือในปัสสาวะ
      -  การใช้ Coenzyme Q10 เสริมในผู้ป่วยที่มีระดับไขมันในเลือดสูง ยังมีข้อมูลจำกัด ผลการใช้ Coenzyme Q10 ร่วมกับ HMG-CoA reductase inhibitors ผลพบว่าจะทำให้ระดับ Coenzyme Q10 ในเลือดเพิ่มสูงขึ้น แต่ไม่มีผลลดระดับไขมันในเลือด
      -  มีการศึกษาแบบ Open, uncontrolled trial การใช้ใน Male infertility รับประทาน Coenzyme Q10 ขนาด 100 mg วันละ 2 ครั้ง จะช่วยเพิ่มการเคลื่อนที่ของ sperm แต่จะไม่เพิ่มระดับความเข้มข้นของ sperm หรือ morphology in infertile men with idiopathic asthenozoospermia จากการติดตามการใช้นาน 6 เดือน
      -  การใช้ใน pulmonary fibrosis พบ Coenzyme Q10 ช่วยเพิ่ม pulmonary function แต่ยังมีข้อมูลจำกัด โดยในการศึกษาใช้ Coenzyme Q10 ในผู้ป่วย COPD 21 ราย และ 9 รายในผู้ป่วย Idiopathic pulmonary fibrosis (IPF) ยาขนาด 90 mg ต่อวัน นาน 8 สัปดาห์
      -  การใช้ใน ventricular arrhythmia ยังมีข้อมูลจำกัด

ผู้ตอบ    ภญ.ปิยพร  ชูชีพ

เอกสารอ้างอิง 
   1. Hutchison TA, Shahan DR, Anderson ML.eds. Coenzyme Q10. DRUGDEX system. MICROMEDEX, Inc.,Greenwood Village, Colorado (Edition expires [2006]).
   2. http://www.kbo.moph.go.th/monday/COQ10.html
   3. http://www.pharcpa.com/interesting004.asp
   4. http://www.chiro.org/nutrition/ABSTRACTS/Role_of_Coenzyme_Q10_Pt_II.shtml