KTAM คาดทองลงอีก แนะปรับสัดส่วนลงทุนเหลือ 5 เปอร์เซ็นต์
ผู้จัดการกองทุน บลจ.กรุงไทยมองระยะสั้นราคาทองเตรียมปรับตัวลดลงอีกแม้สัปดาห์ที่ผ่านมารีบาวนด์ขึ้นเล็กน้อยจากแรงซื้อ พร้อมมองแนวต้านอยู่ที่ 1,309 ดอลลาร์ต่อออนซ์ และแนวรับอยู่ที่ 1,265 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ขณะที่แรงซื้อแรงขายกองทุนทองคำยังมีไม่มาก คาดนักลงทุนรอจังหวะเก็บของถูกเข้าพอร์ต
นายพีรพงศ์ กิจจาการ ผู้จัดการกองทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) กรุงไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า แรงซื้อกองทุนที่ลงทุนในทองคำไม่ว่าจะเป็น ETF หรือกองทุนรวมนั้นก็มีนักลงทุนเข้ามาลงทุนพอสมควรแต่ก็ถือว่ายังไม่มากจนน่าตกใจ ซึ่งนักลงทุนส่วนใหญ่มองว่าราคาทองคำ ณ ปัจจุบันยังมีโอกาสปรับลงต่อได้อีก โดยสัปดาห์ที่ผ่านมาราคาทองมีการปรับขึ้นเล็กน้อยจากแรงซื้อ
อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์หลายสำนักเริ่มมีการปรับประมาณการราคาทองกันเป็นจำนวนมาก โดยเรามองว่าราคาทองคำจะมีโอกาสกลับขึ้นไปทดสอบที่ 1,420 ดอลลาร์ต่อออนซ์ โดยมีแนวต้านอยู่ที่ 1,309 ดอลลาร์ต่อออนซ์ และแนวรับอยู่ที่ 1,265 ดอลลาร์ต่อออนซ์
ทั้งนี้ ปัจจัยที่สนับสนุนให้ราคาทองคำไปต่อนั้นก็คืออัตราเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้น ขณะที่ควาเสี่ยงในยูโรโซนยังมีอยู่ต่อเนื่อง นอกจากนี้ ประเทศตลาดเกิดใหม่ต้องการถือทองคำเพิ่มทำให้มีแรงซื้อกลับเข้ามา
ขณะที่ปัจจัยลบที่ส่งผลต่อราคาทองคำนั้นก็คือแรงเทขายจากกองทุน SPDR ตั้งแต่วันที่ 8 เมษายน-12 เมษายนที่ผ่านมากว่า 53.5 ตัน คิดเป็นเงิน 2,500 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งแนวโน้มคาดการณ์ว่าอาจจะมีการเทขายเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกัน สภาพคล่องที่ไหลเข้ามาลงทุนในทองคำตั้งแต่สหรัฐฯ ออกมาตรการ QE3 นั้นเริ่มกลับเข้าไปลงทุนในสินทรัพย์อื่นเพิ่ม เนื่องจากสินทรัพย์ประเภทอื่นเริ่มให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าการลงทุนในทองคำ นอกจากนี้เรื่องการเทขายทองของไซปรัส และอัตราเงินเฟ้อที่ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ก็มีผลต่อการปรับลงของราคาทองคำด้วยเช่นกัน
นายพีรพงศ์กล่าวต่อว่า เราประเมินว่าในระยะสั้นนี้ราคาทองน่าจะปรับตัวลงต่อ แต่ในระยะกลางความเสี่ยงเรื่องราคาจะปรับลดลง สำหรับการจัดพอร์ตการลงทุนในทองคำช่วงนี้เชื่อว่าในระยะกลางนักลงทุนควรทยอยลงทุนและถือไว้ในพอร์ตประมาณ 10-15% ส่วนการลงทุนในช่วงนี้น่าจะมีอยู่ในพอร์ตประมาณ 5%
ทางด้านศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่าในระยะข้างหน้าตลาดทองคำยังคงต้องเตรียมรับมือกับภาวะผันผวน เนื่องจากตัวแปร/เงื่อนไขที่จะเอื้อต่อบรรยากาศการลงทุนในตลาดทองคำอาจจะไม่เกิดขึ้นในจังหวะเวลาที่สอดคล้องกัน โดยอาจต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่งกว่าจะเห็นภาพที่ชัดเจนขึ้นของแนวโน้มเศรษฐกิจโลกและวิกฤตหนี้ยูโรโซน ตลอดจนภาวะเงินเฟ้อในหลายประเทศที่เป็นแกนนำของโลก ซึ่งขณะนี้ยังอยู่ในระดับที่ค่อนข้างต่ำ
ดังนั้น แม้ตลาดน่าจะรับรู้ตัวแปรจากมาตรการ QE ของเฟดไปแล้วในระดับหนึ่ง แต่คงต้องประเมินสัญญาณความต่อเนื่องของการใช้ QE จากเฟด รวมถึงทิศทางที่ชัดเจนขึ้นของการเยียวยาปัญหาเศรษฐกิจ/เงินฝืดในญี่ปุ่น และปัญหาหนี้ในยูโรโซนประกอบด้วย เพราะต้องยอมรับว่าปัจจัยเหล่านี้ย่อมจะย้อนกลับมามีผลในการกำหนดทิศทางเงินดอลลาร์ และราคาทองคำในช่วงนับจากนี้เช่นกัน
โดยนอกจากจะต้องจับตาทิศทางการซื้อ-ขายในระยะสั้นแล้ว การประเมินสถานการณ์ตลาดทองคำยังอาจต้องจับสัญญาณปัจจัยพื้นฐาน เช่น สถานการณ์วิกฤตหนี้ยูโรโซน ความเสี่ยงเงินเฟ้อ และผลตอบแทนของสินทรัพย์ในตลาดเกิดใหม่อื่นๆ โดยเปรียบเทียบกับทองคำประกอบด้วย
ASTVผู้จัดการออนไลน์ | 21 เมษายน |
ผู้จัดการกองทุน บลจ.กรุงไทยมองระยะสั้นราคาทองเตรียมปรับตัวลดลงอีกแม้สัปดาห์ที่ผ่านมารีบาวนด์ขึ้นเล็กน้อยจากแรงซื้อ พร้อมมองแนวต้านอยู่ที่ 1,309 ดอลลาร์ต่อออนซ์ และแนวรับอยู่ที่ 1,265 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ขณะที่แรงซื้อแรงขายกองทุนทองคำยังมีไม่มาก คาดนักลงทุนรอจังหวะเก็บของถูกเข้าพอร์ต
นายพีรพงศ์ กิจจาการ ผู้จัดการกองทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) กรุงไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า แรงซื้อกองทุนที่ลงทุนในทองคำไม่ว่าจะเป็น ETF หรือกองทุนรวมนั้นก็มีนักลงทุนเข้ามาลงทุนพอสมควรแต่ก็ถือว่ายังไม่มากจนน่าตกใจ ซึ่งนักลงทุนส่วนใหญ่มองว่าราคาทองคำ ณ ปัจจุบันยังมีโอกาสปรับลงต่อได้อีก โดยสัปดาห์ที่ผ่านมาราคาทองมีการปรับขึ้นเล็กน้อยจากแรงซื้อ
อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์หลายสำนักเริ่มมีการปรับประมาณการราคาทองกันเป็นจำนวนมาก โดยเรามองว่าราคาทองคำจะมีโอกาสกลับขึ้นไปทดสอบที่ 1,420 ดอลลาร์ต่อออนซ์ โดยมีแนวต้านอยู่ที่ 1,309 ดอลลาร์ต่อออนซ์ และแนวรับอยู่ที่ 1,265 ดอลลาร์ต่อออนซ์
ทั้งนี้ ปัจจัยที่สนับสนุนให้ราคาทองคำไปต่อนั้นก็คืออัตราเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้น ขณะที่ควาเสี่ยงในยูโรโซนยังมีอยู่ต่อเนื่อง นอกจากนี้ ประเทศตลาดเกิดใหม่ต้องการถือทองคำเพิ่มทำให้มีแรงซื้อกลับเข้ามา
ขณะที่ปัจจัยลบที่ส่งผลต่อราคาทองคำนั้นก็คือแรงเทขายจากกองทุน SPDR ตั้งแต่วันที่ 8 เมษายน-12 เมษายนที่ผ่านมากว่า 53.5 ตัน คิดเป็นเงิน 2,500 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งแนวโน้มคาดการณ์ว่าอาจจะมีการเทขายเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกัน สภาพคล่องที่ไหลเข้ามาลงทุนในทองคำตั้งแต่สหรัฐฯ ออกมาตรการ QE3 นั้นเริ่มกลับเข้าไปลงทุนในสินทรัพย์อื่นเพิ่ม เนื่องจากสินทรัพย์ประเภทอื่นเริ่มให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าการลงทุนในทองคำ นอกจากนี้เรื่องการเทขายทองของไซปรัส และอัตราเงินเฟ้อที่ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ก็มีผลต่อการปรับลงของราคาทองคำด้วยเช่นกัน
นายพีรพงศ์กล่าวต่อว่า เราประเมินว่าในระยะสั้นนี้ราคาทองน่าจะปรับตัวลงต่อ แต่ในระยะกลางความเสี่ยงเรื่องราคาจะปรับลดลง สำหรับการจัดพอร์ตการลงทุนในทองคำช่วงนี้เชื่อว่าในระยะกลางนักลงทุนควรทยอยลงทุนและถือไว้ในพอร์ตประมาณ 10-15% ส่วนการลงทุนในช่วงนี้น่าจะมีอยู่ในพอร์ตประมาณ 5%
ทางด้านศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่าในระยะข้างหน้าตลาดทองคำยังคงต้องเตรียมรับมือกับภาวะผันผวน เนื่องจากตัวแปร/เงื่อนไขที่จะเอื้อต่อบรรยากาศการลงทุนในตลาดทองคำอาจจะไม่เกิดขึ้นในจังหวะเวลาที่สอดคล้องกัน โดยอาจต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่งกว่าจะเห็นภาพที่ชัดเจนขึ้นของแนวโน้มเศรษฐกิจโลกและวิกฤตหนี้ยูโรโซน ตลอดจนภาวะเงินเฟ้อในหลายประเทศที่เป็นแกนนำของโลก ซึ่งขณะนี้ยังอยู่ในระดับที่ค่อนข้างต่ำ
ดังนั้น แม้ตลาดน่าจะรับรู้ตัวแปรจากมาตรการ QE ของเฟดไปแล้วในระดับหนึ่ง แต่คงต้องประเมินสัญญาณความต่อเนื่องของการใช้ QE จากเฟด รวมถึงทิศทางที่ชัดเจนขึ้นของการเยียวยาปัญหาเศรษฐกิจ/เงินฝืดในญี่ปุ่น และปัญหาหนี้ในยูโรโซนประกอบด้วย เพราะต้องยอมรับว่าปัจจัยเหล่านี้ย่อมจะย้อนกลับมามีผลในการกำหนดทิศทางเงินดอลลาร์ และราคาทองคำในช่วงนับจากนี้เช่นกัน
โดยนอกจากจะต้องจับตาทิศทางการซื้อ-ขายในระยะสั้นแล้ว การประเมินสถานการณ์ตลาดทองคำยังอาจต้องจับสัญญาณปัจจัยพื้นฐาน เช่น สถานการณ์วิกฤตหนี้ยูโรโซน ความเสี่ยงเงินเฟ้อ และผลตอบแทนของสินทรัพย์ในตลาดเกิดใหม่อื่นๆ โดยเปรียบเทียบกับทองคำประกอบด้วย