Pages

Long Live The king

Long Live The king

October 01, 2013

พอร์ตหลังสหรัฐขยายเพดานหนี้ไม่ทันเวลา

โบรกฯ แนะลดพอร์ตหลังสหรัฐขยายเพดานหนี้ไม่ทันเวลา ชี้รอซื้อช่วงดัชนี 1,380-1,350 จุด กลุ่มแบงก์ สื่อสาร รับเหมาก่อสร้าง อสังหาริมทรัพย์
บทวิเคราะห์ บล.เคที ซีมิโก้ ระบุว่า 1. กรณีสภาอนุมัติงบประมาณปี 57 ไม่ทัน คาดว่าจะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจจำกัด โดย GDP สหรัฐฯ ปรับลดลง 0.27-0.50 ppt ในช่วงที่ต้องปิดหน่วยงานของรัฐชั่วคราว 20 วัน ในช่วงเดือนธันวาคม 1995 เนื่องจาก พนักงานรัฐที่ถูกให้มีการหยุดแบบ Unpaid Leave จะได้รับเงินคืนทั้งหมดในที่สุด ขณะที่ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับลดลงเพียง 3.7% โดยมีโอกาส 50% ที่สภาฯจะไม่สามารถผ่านงบฯ ได้ทันเส้นตาย
2. กรณีขยายวงเงินเพดานหนี้ไม่ทัน 17 ตุลาคมนี้จะมีผลกระทบต่อทั้งเศรษฐกิจ และตลาดการเงิน เนื่องจากไม่มีเงินเพียงพอต่อการใช้จ่ายและชำระหนี้ แต่ข่าวดีคือ เฟดจะยังคงนโยบาย QE ต่อไปจนถึงต้นปีหน้า โดยในอดีตเคยเกิดขึ้นเมื่อเดือนกรกฎาคมและสิงหาคม 2011 พบว่า ตลาดหุ้นสหรัฐฯ S&P 500 ดิ่งลงจากระดับ 1300 จุด ลงมาที่ระดับ 1100 จุด หรือ -15.4% / DJIA จาก 12724.41 (21/7) ลงมาที่ 10719.94 จุด (10/8) ภายใน 2 สัปดาห์ หรือลดลง 15.8% และ ราคาทองคำปรับขึ้น จาก $1596 ต่อออนซ์ (21/7) ไปที่ $1897 ต่อออนซ์ (23/8)
ดังนั้นแนวโน้ม หากสหรัฐไม่สามารถขยายเพดานหนี้ทันกำหนดเส้นตาย คือ 1. ตลาดหุ้นโลกลดลงแรง จากการขายทำกำไรเพื่อลดความเสี่ยงการผิดนัดชำระหนี้ 2. ยิลด์บอนด์สหรัฐฯ ปรับสูงขึ้นชั่วคราว จากการส่งสัญญาณเตือนหั่นเครดิตของสถาบันจัดอันดับ S&P, Moody ผิดนัดชำระหนี้ 3. ทองคำขึ้นไปทดสอบระดับ 1400 ดอลล์ต่ออนซ์ จากการซื้อสินทรัพย์ปลอดภัย
ทั้งนี้ นักลงทุนในตลาดส่วนใหญ่ ไม่คาดว่าจะเกิดปัญหานาน เพราะเป็นเรื่องเกมการเมือง ซึ่งส่วนใหญ่จะสามารถประนีประนอมกันได้ในวันสุดท้าย หรือ Delay ไม่นาน (จะเกิดการแรลลี่ หากสภาฯ อนุมัติการขยายเพดานหนี้)
อย่างไรก็ตาม แม้ตลาด คาดว่า สภาสหรัฐฯ จะสามารถหาข้อยุติได้ทันเส้นตาย แต่ก็ยังมีความเสี่ยงที่อาจเกิดประวัติศาสตร์ซ้ำรอยปลายปีก่อนอีกครั้ง เนื่องจาก เกมทางการเมืองระหว่าง 2 พรรค ที่ต่างไม่ยอมประนีประนอม ซึ่งจะยิ่งสร้างความกังวลให้กับตลาดมากขึ้น ซึ่งการที่รีพับลิกันยื้อให้โอบามายืดเวลาการเริ่มใช้กฎหมายปฏิรูประบบประกันสุขภาพออกไป จะทำให้นักลงทุนไม่มั่นใจในกระบวนการและความมั่นคงทางการคลังของสหรัฐฯ ซึ่งในปี 2011 ปัญหานี้ทำให้ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ร่วงลงอย่างหนัก ประกอบกับที่อัตราผลตอบพันธบัตรสหรัฐฯ ที่อยู่ในช่วงขาขึ้นอยู่แล้ว แม้ว่าจะปรับลดลงมาบ้าง จากที่เฟดยังคงปริมาณการซื้อสินทรัพย์ แต่ปัญหาเพดานหนี้จะเป็นการซ้ำเติมให้อัตราผลตอบพันธบัตรสหรัฐฯ กลับสูงขึ้นอีกได้ และจะเป็นผลลบต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯได้
ทั้งนี้การลดขนาด QE อาจเกิดขึ้นในเดือนธันวาคม หรือต้นปีหน้า หากสภาสหรัฐฯ ไม่อนุมัติงบฯ โดยผลสำรวจนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดเฟดเริ่มลดวงเงิน QE ในเดือน ธ.ค. โดยประเด็นการลดขนาด QE จะเป็นปัจจัยลบระยะสั้น ต่อการเคลื่อนย้ายเงินทุน โดยเฉพาะประเทศที่มีความเสี่ยงสูง (ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดสูง) เช่น อินเดีย อินโดนีเซีย ไทย ฯลฯ โดยคาดว่า การลดขนาด QE3 มีโอกาสสูงที่จะไม่เกิดขึ้นในปีนี้ หรือกรณีเร็วที่สุด อาจเกิดขึ้นในเดือนธันวาคม เพราะเฟดไม่ได้มีการส่งสัญญาณว่ามีการเตรียมตัวสำหรับการเริ่มต้นการลดขนาดการซื้อสินทรัพย์ (QE) แต่อย่างใด ยกเว้นการส่งสัญญาณว่าตลาดแรงงานมีการปรับตัวดีขึ้นอย่างมาก และเศรษฐกิจฟื้นตัวอย่างมีเสถียรภาพ รวมถึงกรณีสภาสหรัฐฯเกิดปัญหา Fiscal Cliff ทำให้มุมมองของการลดขนาด QE มีความเป็นไปได้สูงที่จะเกิดขึ้นในปีหน้า หรือรอจนกว่า งบประมาณปี 57F ของสภาสหรัฐฯได้ข้อยุติ และข้อมูลเศรษฐกิจส่งสัญญาณเติบโตอย่างต่อเนื่อง
ด้านบทวิเคราะห์ บล.ธนชาต ระบุว่า แม้ทางพื้นฐานจะยังมีมุมมองเป็นบวกต่อแนวโน้ม SET ระยะ 14 เดือนข้างหน้า ด้วยเป้าหมายปลายปี 2014 ที่ 1,650 จุด แต่ถ้าพิจารณาในเชิง Sentiment ควร “ลดพอร์ต” ในกรณีที่ปิดต่ำกว่า 1,410 จุด
สอดคล้องกับ บล.เคที ซีมิโก้ ที่ระบุว่า ให้ขายหุ้นออกไปก่อน เพื่อรอซื้อคืน เมื่อตลาดเกิด Panic Sell บริเวณ 1,380-1,350 จุด โดยเฉพาะหุ้นบลูชิพขนาดใหญ่ แบงก์ สื่อสาร และกลุ่ม High Beta รับเหมาฯ อสังหาฯ ส่วนหุ้นปันผลดี แนะนำ สะสมเมื่อราคาอ่อนตัว BTS BECL INTUCH SITHAI
ส่วนบล.โกลเบล็ก ระบุว่า ในช่วงระยะสั้นๆ ดัชนีจึงมีโอกาสซึมลงต่อโดยมีแนวรับถัดไปบริเวณ เส้นค่าเฉลี่ย 75 สัปดาห์แถว ๆ 1372 จุด สำหรับแนวต้านกรณีดีดกลับอยู่บริเวณ 1,442 จุด