เที่ยวงานวัฒนธรรมประจำปีของย่านกะดีจีนและคลองสาน
# สมาคมสถาปนิกสยามฯ และ ภาคีเครือข่าย ขอเชิญชมงาน “ศิลป์ในซอย” ตอน ศิลป์สามท่า: ศิลป์ออกเสียง สำเนียงนานาชน (คนฝั่งขะนี้)* วันจันทร์ที่ 24 ธันวาคม 2555 ณ ลานวัดซางตาครู้ส ฝั่งธนบุรี พบกับ การแสดงดนตรีออกภาษา 5 ตอน สะท้อนสำเนียงภาษากลุ่มชนคนไทย-ฝรั่ง-แขก-มอญ-จีน / นิทรรศการตุ๊กตาออกท่า / งานออกแบบแสงสว่าง (Lighting Design) ในพื้นที่สาธารณะ / ทัวร์เดินเท้าและปั่นจักรยานท่องสองย่านประวัติศาสตร์ / การเสวนาและนิทรรศการว่าด้วยสถาปัตยกรรมและชุมชน
24 ธ.ค. 16.30 น. ทัวร์เดินเท้า ทัศนะจร 2: บลัดเลย์: หมอฝรั่งยุคสยามศิวิไลซ์ (ลงทะเบียนร่วมทัวร์ 16.00 น.) 18.00 น. การแสดงดนตรี “ออกภาษา* ตอนที่ 2: ฝรั่งยีเฮ็ม” และชมนิทรรศการแสงไฟมรดกวัฒนธรรม 20.30 น. ละคร “พระเกิด” และพิธีมิสซา
*ศิลป์ในซอย เป็นเทศกาลศิลปวัฒนธรรมกลางแจ้งประจำปีของย่านกะดีจีนและคลองสาน ที่มุ่งเน้นการใช้ศิลปะเป็นเครื่องมือในการสร้างการมีส่วนร่วมของบ้าน วัด โรงเรียน (บ.ว.ร.) ภายในย่าน และภาคีพัฒนาทั้งภาคประชาสังคม ภาคเอกชน และภาครัฐ ในการอนุรักษ์ฟื้นฟูย่านประวัติศาสตร์ ในปีนี้จัดขึ้นภายใต้ธีม “ศิลป์สามท่า : ศิลป์ออกเสียง สำเนียงนานาชน (คนฝั่งขะนี้)” ซึ่งจัดทั้งหมด 5 ครั้ง โดยผนึกเข้ากับเทศกาลท้องถิ่นของย่าน
ครั้งที่ 1 พิธีเปิด ณ ลานริมน้ำสำนักเทศกิจ 27 พฤศจิกายน 55 เวลา 17:00-19:00 น.
ครั้งที่ 2 งานคริสต์มาส ณ ลานวัดซางตาครู้ส 24 ธันวาคม 55 เวลา 17:00-21:00 น.
ครั้งที่ 3 งานฉลองวัดรั้วเหล็ก ณ ลานพระบรมธาตุมหาเจดีย์ วัดประยุรฯ 13 มกราคม 56 เวลา 17:00-21:00 น.
ครั้งที่ 4 เรื่องเล่าในวงชา-เสวนาในวงแขก ณ อุทยานสมเด็จย่าฯ 2 กุมภาพันธ์ 56 เวลา 13:00-17:00 น.
ครั้งที่ 5 ศิลป์สามท่า : ศิลป์ออกเสียง สำเนียงนานาชน (คนฝั่งขะนี้) ณ ย่านกะดีจีน-ย่านคลองสาน 23-24 กุมภาพันธ์ 56 เวลา 17:00-21:00 น.
*ออกภาษา เป็นชื่อเรียกเพลงไทยที่บรรเลงโดยออกสำเนียงภาษาของผู้คนแต่ละกลุ่มชน ที่ต่างเดินทางเข้ามาสัมพันธ์อยู่ในสังคมไทยอย่างยาวนาน การแสดง “ออกภาษา” เป็นภาพรวมที่สะท้อน “ความเป็นไทย” ทั้งจากวันวานถึงวันนี้ได้อย่างมีสีสัน มีชีวิตชีวาแบบไทย ๆ (ธีรนันท์ ช่วงพิชิต ศูนย์ข้อมูลประวัติศาสตร์ชุมชนธนบุรี)
*คนฝั่งขะนี้ มาจาก คนฝั่งข้างนี้ เป็นภาษาพูดของผู้คนในสังคมชาววังหลวง กว่าร้อยปีก่อน เป็นคำที่ใช้เรียกเมื่อจะเอ่ยถึงผู้คนที่พักอาศัยทางฟากฝั่งตรงข้ามกับวังหลวง อย่างมีนัยยะถึงผู้มีบทบาทสูงต่อสังคมสมัยนั้นในสายสกุล “บุนนาค” โดยเรียกว่า “พวกฟากขะโน้น” มาจากคำว่า “พวกฟากข้างโน้น”
ขอบคุณ Facebook