ปัญหาตะไคร่น้ำ
12 ส.ค. 2553
เริ่มเข้าหน้าฝนมาได้สักพักแล้วนะครับ นอกจากความเย็นชุ่มช่ำของสายฝน (และรถติด) แล้ว หลายท่านคงสังเกตุเห็นความเปลี่ยนแปลงรอบๆ ตัวไปเยอะเหมือนกัน สำหรับท่านที่ชอบปลูกต้นไม้ หลายคนคงรู้สึกชอบที่เห็นต้นไม้ของท่านเจริญงอกงามอย่างรวดเร็ว แต่แน่นอนว่าเมื่อต้นไม้ที่ท่านปลูกไว้เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ตะไคร่น้ำก็เช่นเดียวกันที่เจริญเติบโตได้รวดเร็วไม่แพ้กันหรืออาจเร็วกว่าต้นไม้ของท่านด้วยซ้ำไป บางคนอาจจะชอบเพราะรู้สึกว่าสวยดี ผมเองก็เป็นคนหนึ่งที่ชอบสวนที่มีตะไคร่น้ำ เพราะรู้สึกว่ามันชุ่มชื้นและเย็นสบาย โดยเมื่อครั้งที่เริ่มจัดสวนที่บ้าน ได้ลงทุนทำขอบล้อมรอบทางเดินซึ่งปูด้วยอิฐให้น้ำขังเพื่อให้ตะไคร่น้ำจับที่ตัวก้อนอิฐ เพราะไม่ชอบพื้นผิวอิฐมอญใหม่ๆ (หลังจากนั้นก็นำขอบนั้นออก)
นักจัดสวนหลายคนก็เช่นเดียวกันมักจะ(จงใจ)นิยมใช้ตะไคร่น้ำเหล่านี้เป็นองค์ประกอบในการจัดสวน โดยใช้วัสดุอย่างเช่น หิน หรืออิฐ มาจัดเป็นองค์ประกอบสวนในพื้นที่ที่มีความชื้นสูง มีน้ำขังเล็กน้อย เพื่อให้ตะไคร่จับตัวกับหินหรืออิฐ เหล่านั้น เพื่อให้เกิดความสวยงาม แต่แน่นอนว่า เมื่อย่างเข้าสู่ฤดูฝน ตะไคร่น้ำเหล่านั้นจะมีอัตราการเจริญเติบโตที่รวดเร็วกว่าปกติ จนทำให้ไม่สามารถควบคุมให้อยู่ในที่ที่กำหนดไว้ได้ และเมื่อไปเจริญเติบโตอยู่บนบริเวณทางเดิน หรือบันได ก็อาจจะก่อให้เกิดอันตราย หรืออุบัติเหตุได้ง่าย
วิธีแก้ไขสำหรับพื้นที่มีตะไคร่น้ำเกาะหนาแน่นก็คือ ใช้น้ำยาทำความสะอาดเชื้อราและตะไคร่น้ำ แต่ต้องจำไว้ว่าจะต้องเลือกชนิดของน้ำยาให้ถูกต้องกับพื้นผิวที่จะทำความสะอาด ตัวอย่างเช่น พื้นคอนกรีต อิฐ หินธรรมชาติ โดยราดน้ำยาทิ้งไว้ประมาณ 10-15 นาที เพื่อให้น้ำยาทำปฏิกิริยากับคราบตะไคร่น้ำ จากนั้นล้างออกด้วยน้ำ หากยังเหลือครามที่ติดฝังแน่นอยู่ ก็คงจำเป็นที่จะต้องออกแรง ใช้แปรงขนแข็งขัดกันอีกนิดหน่อย หรืออาจจะใช้เครื่องฉีดน้ำแรงดันสูง (แต่อาจจะมีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างแพงอยู่สักหน่อย) ฉีดทำความสะอาด หลังจากนั้นก็ปล่อยทิ้งไว้ให้แห้ง
การทำความสะอาดด้วยน้ำยาทำความสะอาดตะไคร่น้ำ จะสามารถขจัดตะไคร่น้ำได้เพียงบางส่วนเท่านั้น สังเกตได้จากการที่พื้นผิวเหล่านั้นยังคงมีสีเขียวๆ อยู่ แม้ว่าเราจะออกแรงขัดมากแค่ไหนก็ตาม เพราะเมื่อตะไคร่น้ำเกาะกับพื้นผิวใดๆ แล้ว ตะไคร่น้ำจะฝังรากลึกลงไปในพื้นผิวที่มันเกาะอยู่ เมื่อเราไม่สามารถขจัดรากที่ฝังแน่นอยู่เหล่านั้นออกไปได้ทั้งหมด เมื่ออยู่ในสภาวะที่เหมาะสม ตะไคร่น้ำเหล่านั้นก็จะแตกหน่อเจริญเติบโตอีก สิ่งที่เราสามารถทำได้ก็คือ ชะลอการเจริญเติบโตของตะไคร่น้ำเก่าที่เราไม่สามารถขัดออกได้หมด และกันไม่ให้ตะไคร่น้ำใหม่ซึมเข้าสู่พื้นผิวได้ง่ายนัก โดยมีขั้นตอนต่อไปดังนี้
เมื่อพื้นผิวที่ทำความสะอาดแห้งสนิทแล้ว ก็ควรลงน้ำยาป้องกันตะไคร่น้ำ เพื่อลดการเกิดของตะไคร่น้ำ และป้องกันคราบตะไคร่น้ำซึมเข้าสู่พื้นผิวได้โดยง่าย โดยใช้แปลงหรือลูกกลิ้งทาน้ำยาลงไปบนพื้นผิว ทิ้งไว้ 1-2 ชั่วโมง จนแห้งแล้วทาทับอีกครั้ง หากใครประสบกับปัญหาตะไคร่น้ำก็ลองทำตามดูนะครับ
Tip
นักจัดสวนหลายคนก็เช่นเดียวกันมักจะ(จงใจ)นิยมใช้ตะไคร่น้ำเหล่านี้เป็นองค์ประกอบในการจัดสวน โดยใช้วัสดุอย่างเช่น หิน หรืออิฐ มาจัดเป็นองค์ประกอบสวนในพื้นที่ที่มีความชื้นสูง มีน้ำขังเล็กน้อย เพื่อให้ตะไคร่จับตัวกับหินหรืออิฐ เหล่านั้น เพื่อให้เกิดความสวยงาม แต่แน่นอนว่า เมื่อย่างเข้าสู่ฤดูฝน ตะไคร่น้ำเหล่านั้นจะมีอัตราการเจริญเติบโตที่รวดเร็วกว่าปกติ จนทำให้ไม่สามารถควบคุมให้อยู่ในที่ที่กำหนดไว้ได้ และเมื่อไปเจริญเติบโตอยู่บนบริเวณทางเดิน หรือบันได ก็อาจจะก่อให้เกิดอันตราย หรืออุบัติเหตุได้ง่าย
วิธีแก้ไขสำหรับพื้นที่มีตะไคร่น้ำเกาะหนาแน่นก็คือ ใช้น้ำยาทำความสะอาดเชื้อราและตะไคร่น้ำ แต่ต้องจำไว้ว่าจะต้องเลือกชนิดของน้ำยาให้ถูกต้องกับพื้นผิวที่จะทำความสะอาด ตัวอย่างเช่น พื้นคอนกรีต อิฐ หินธรรมชาติ โดยราดน้ำยาทิ้งไว้ประมาณ 10-15 นาที เพื่อให้น้ำยาทำปฏิกิริยากับคราบตะไคร่น้ำ จากนั้นล้างออกด้วยน้ำ หากยังเหลือครามที่ติดฝังแน่นอยู่ ก็คงจำเป็นที่จะต้องออกแรง ใช้แปรงขนแข็งขัดกันอีกนิดหน่อย หรืออาจจะใช้เครื่องฉีดน้ำแรงดันสูง (แต่อาจจะมีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างแพงอยู่สักหน่อย) ฉีดทำความสะอาด หลังจากนั้นก็ปล่อยทิ้งไว้ให้แห้ง
การทำความสะอาดด้วยน้ำยาทำความสะอาดตะไคร่น้ำ จะสามารถขจัดตะไคร่น้ำได้เพียงบางส่วนเท่านั้น สังเกตได้จากการที่พื้นผิวเหล่านั้นยังคงมีสีเขียวๆ อยู่ แม้ว่าเราจะออกแรงขัดมากแค่ไหนก็ตาม เพราะเมื่อตะไคร่น้ำเกาะกับพื้นผิวใดๆ แล้ว ตะไคร่น้ำจะฝังรากลึกลงไปในพื้นผิวที่มันเกาะอยู่ เมื่อเราไม่สามารถขจัดรากที่ฝังแน่นอยู่เหล่านั้นออกไปได้ทั้งหมด เมื่ออยู่ในสภาวะที่เหมาะสม ตะไคร่น้ำเหล่านั้นก็จะแตกหน่อเจริญเติบโตอีก สิ่งที่เราสามารถทำได้ก็คือ ชะลอการเจริญเติบโตของตะไคร่น้ำเก่าที่เราไม่สามารถขัดออกได้หมด และกันไม่ให้ตะไคร่น้ำใหม่ซึมเข้าสู่พื้นผิวได้ง่ายนัก โดยมีขั้นตอนต่อไปดังนี้
เมื่อพื้นผิวที่ทำความสะอาดแห้งสนิทแล้ว ก็ควรลงน้ำยาป้องกันตะไคร่น้ำ เพื่อลดการเกิดของตะไคร่น้ำ และป้องกันคราบตะไคร่น้ำซึมเข้าสู่พื้นผิวได้โดยง่าย โดยใช้แปลงหรือลูกกลิ้งทาน้ำยาลงไปบนพื้นผิว ทิ้งไว้ 1-2 ชั่วโมง จนแห้งแล้วทาทับอีกครั้ง หากใครประสบกับปัญหาตะไคร่น้ำก็ลองทำตามดูนะครับ
Tip
- เพื่อเป็นการลดปัญหาความลื่นของพื้นทางเดินรอบๆ บ้านอันเนื่องมาจากตะไคร่น้ำ แนะนำให้คุณเลือกใช้วัสดุปูพื้นที่มีขนาดไม่ใหญ่จนเกินไปนัก หรือเลือกปูพื้นโดยใช้วิธีปูแบบเว้นร่องเอาไว้สำหรับโรยทราย หรือหินกรวด เพื่อเพิ่มผิวสัมผัสที่หยาบ อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มสีสันและความสวยงามได้อีกด้วย
- หลีกเลี่ยงการใช้พื้นผิวที่มีความมันอย่างเช่น พื้นกระเบื้องดินเผา หรือพื้นซีเมนต์ขัดมัน สำหรับทำทางเดิน ให้เลือกใช้พื้นผิวที่มีผิวสัมผัสหยาบ อย่างเช่น พื้นทรายล้าง หรือพื้นผิวซีเมนต์แบบขัดหยาบแทน เพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุเพราะพื้นผิวที่มีความมัน ถึงแม้ไม่มีตะไคร่น้ำจับ แต่เมื่อเปียกน้ำก็จะมีความลื่น เช่นกัน
ขอบคุณเรื่อง: บ้านและสวน http://www.baanlaesuan.com/Onlyonweb.aspx?cid=3&aid=32