Pages

Long Live The king

Long Live The king

October 02, 2013

รับมือ รับหุ้นช่วงผันผวน

รับมือ รับหุ้นช่วงผันผวน

โดย...ภาววิทย์ กลิ่นประทุม ที่ปรึกษาการลงทุน บริษัทหลักทรัพย์ บัวหลวง จำกัด (มหาชน)


คราวที่แล้วขายแพง ตอนคนส่วนใหญ่โลภ ...มันฟังดูง่ายจริงๆ แต่ถ้าคุณลองใช้เงินจริงๆ ของคุณเอง เชื่อผมเถอะว่า คุณต้องต่อสู้กับ Greed & Fear ในตัวของคุณเองอย่างมาก...

ณ เวลาที่เขียนบทความนี้ เป็นเวลาที่หุ้นทั้งตลาดกำลังปรับฐานลงแบบรุนแรง ด้วยข่าวการหยุดทำ QE ของอเมริกา ...แต่คุณเชื่อผมเถอะว่า “ปาระเบิดเข้าไปแล้ว ผลกระทบยังคงอยู่ และการเฟ้อขึ้นของราคา Asset ในภาพใหญ่จะเกิดขึ้นแน่นอน ...ดังนั้น การย่อตัวของราคาหุ้น และ Commodity ในวันนี้ มันเป็นจังหวะที่เราควรซื้อมากกว่าขาย ...แต่เชื่อไหมว่า เวลาที่หุ้นถูก คนส่วนใหญ่จะไม่ได้ซื้อ เพราะคนในตลาดจะมีอยู่ 2 กลุ่มเท่านั้น คือ กลุ่มแรก คือคนที่เล่นหุ้นอยู่ พวกนี้ส่วนใหญ่เวลาหุ้นลงแรงๆ จะติดดอยอยู่ ดังนั้น เวลาที่หุ้นลงมาหนักๆ เขารู้ว่าหุ้นถูกมากๆ แต่ตัวเองไม่มีเงินจะซื้อเพราะติดดอยอยู่

...กลุ่มสอง คือ คนที่ยังไม่เคยเล่นหุ้น พวกนี้มีเงินสด แต่คนเหล่านี้ไม่รู้จักหุ้น เลยไม่รู้ว่าเวลานี้เป็นโอกาสซื้อของถูก ...คนกลุ่มแรกมักจะอิจฉาคนกลุ่มสองว่าโชคดีจริงๆ มีเงินเวลาที่หุ้นถูก แต่คุณเชื่อหรือไม่ว่า เวลาหุ้นถูก มันคือเวลาที่ในตลาดมีแต่ข่าวร้าย ...คนกลุ่มที่สองที่ไม่ค่อยมีความรู้เรื่องหุ้น เขาไม่กล้าซื้อหรอก เพราะเขาจะไม่รู้ว่าอะไรที่แปลว่าถูก หรืออะไรที่แปลว่าแพง ...ในกรณีที่เขาโชคดีได้ซื้อจริงๆ เขาก็จะได้กำไรไม่มาก เพราะเวลากำไรเขาก็จะรีบขายเลยได้กำไรนิดเดียวอยู่ดี

สิ่งที่ผมอยากจะชี้ประเด็นให้เห็นก็คือ ไม่มีใครเข้ามาฟลุกจากตลาดแล้วจะสามารถรวยอย่างยั่งยืน ...คนที่เข้ามาเล่นหุ้นแล้วกำไรระยะสั้น สุดท้ายก็จะคืนเงินกำไรแถมเข้าเนื้อขาดทุนเวลาเมื่อตลาดปรับฐาน เพราะจังหวะที่มือใหม่เข้าตลาด มักจะเป็นภาวะที่ตลาดมีแต่ข่าวดี ก็จะเป็นภาวะที่หุ้นแพงนั่นเอง ดังนั้น พอตลาดปรับฐานไอ้เงินกำไรที่เขาได้ๆ มาก่อนหน้า ก็จะคืนหมดแถมขาดทุนอีก

จะเห็นได้ว่า การที่สามารถอยู่ในตลาดหุ้นและทำกำไร จนสร้างตัวได้เป็นสิบเป็นร้อยๆ เท่าเหมือนเซียนหุ้นที่เราเห็นๆ มันต้องผ่านภาวะตลาดต่างๆ ที่ทดสอบใจ และเพิ่มประสบการณ์เรื่อยๆ ...ยกตัวอย่างบริษัทดีๆ อย่าง CPN “เซ็นทรัล” – คุณรู้ไหมเวลารอบที่ราคามันลงต่ำ ในเวลาที่เซ็นทรัลอยู่ใน Cycle ธุรกิจที่แย่ หุ้น CPN เคยลงไปที่ 20 สตางค์ ...และเวลาที่ CPN อยู่ในขาขึ้น ในภาวะที่ดี ราคาหุ้นเคยขึ้นไปที่ 60 บาท ...ถามหน่อยว่า คนส่วนใหญ่จะซื้อหุ้นนี้เมื่อไหร่ – ตอบง่ายๆ คนส่วนใหญ่ก็ต้องซื้อเมื่อ CPN ดูดี ก็นั่นแหละ ซื้อกันที่ 60 บาท ...ถามหน่อยว่า ซื้อตอนดี แล้วเขาขายตอนไหน ...“ก็ซื้อตอนดี ก็ต้องไปขายตอนแย่ไง ...บ้าจริงๆ แต่มันคือเรื่องจริง”

วิธีการง่ายๆ (แต่ทำยาก) คือ การเข้าตลาด เข้าใจ Cycle ของธุรกิจ แล้วก็ซื้อในวันที่แย่ CPN มีแต่ข่าวร้าย ใกล้เจ๊ง ...นั่นแหละ ซื้อ 20 สตางค์ แล้วไปขายเมื่อไหร่ก็ได้ที่ CPN เข้า Cycle ที่ดี ...ขายตรงไหนก็กำไรสุดๆ ..และผมจะบอกอีกว่า หุ้นดีๆ แบบนี้ และโอกาสดีๆ แบบนี้มีมากมาย และเกิดขึ้นตลอดเวลา ...“ตลาดมันรอคนที่เข้าใจไปสร้างความรวย ...แต่คนคนนั้นต้องเอาชนะความโลภและความกลัวของตัวเอง จึงจะชนะอารมณ์และสร้างความรวยสุดๆ ได้นั่นเอง” ผมเล่าให้ฟังในเรื่อง QE ที่รัฐบาลประเทศมหาอำนาจทั้งสามต่างพิมพ์เงิน เพิ่ม Supply ของเงิน ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาแบบระยะสั้น ช่วยแก้เงินฝืดชั่วคราว แต่จะสร้างปัญหาเงินเฟ้อในระยะยาว และที่น่ากลัวคือ “รัฐบาลประเทศเหล่านั้น เขาคิดว่าเขาสามารถควบคุมเงินเฟ้อได้ ...แต่เชื่อผมเถอะว่า สุดท้ายมันไม่ได้ง่ายอย่างที่เขาคิด โดยเฉพาะลุงเบน เบอร์แนนคี ประธาน FED ที่บอกว่า ทุกอย่างควบคุมได้...ฟังแล้วฮาสุดๆ” – โอเค นึกภาพว่า มีผู้ร้ายเข้ามาในเมืองคุณ แล้วคุณก็แก้ปัญหากำจัดผู้ร้ายโดยการปาระเบิดเข้าไปในเมือง แล้วคุณบอกว่าไม่น่าจะมีอะไรเสียหาย ...การปาระเบิดเข้าไปในเมือง มันสามารถแก้ปัญหาระยะสั้นคือ ฆ่าผู้ร้ายได้ (รึเปล่า ...คนร้ายบางส่วนอาจยังไม่ตายด้วยซ้ำ?) แต่ความเสียหายมันเกิดขึ้น และมันจะกระทบต่อคนในเมืองแน่นอน

“สิ่งที่ตามมา” คือ เงินเฟ้อ บวกกับความผันผวนของราคาสินค้าอย่างสุดโต่ง ซึ่งสิ่งที่จะได้รับผลกระทบสูงสุดคือ ราคา Commodity (อาหารและพลังงาน) และราคาหุ้น ...ดังนั้น ถ้าเราต้องการรักษาความมั่งคั่งของตัวเราเอง เราต้องเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้น นั่นก็คือ “ต้องเข้าใจว่า จากนี้ไป ราคา Asset ต่างๆ ตั้งแต่ทองคำ Commodity อาหาร และหุ้น ...ราคาจะขึ้นลงอย่างบ้าเลือด

สิ่งที่เราต้องเข้าใจคือ ภาพใหญ่ของ Asset มันต้องขึ้น++ ...เพราะเงินมันเฟ้อ และภาพใหญ่ของมูลค่าเงินมันต้องลดลง เพราะเงินมันเฟ้อนั่นเอง”

สรุปง่ายๆ ว่า ถ้าคุณเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้น แล้วมีความเข้าใจแน่วแน่ในสิ่งที่เกิดขึ้น ...ทุกวิกฤตของการลงปรับฐานของราคาหุ้น และ Commodity มันจะเป็นภาวะที่เราสามารถซื้อ Asset ในราคาที่ถูกนั่นเอง ...ซื้อเพิ่มจำนวนของ Asset ไปเรื่อยๆ ทุกครั้งที่เกิดวิกฤต ...จากนั้นก็ถือไปจนเศรษฐกิจโลกเข้าสู่ภาวะปกติ จากนั้นพอเศรษฐกิจโลกเข้าสู่ภาวะปกติ ราคา Asset ที่เราถือจะพุ่งขึ้นอย่างมหาศาลอีกครั้ง ...และจุดนั้นแหละที่เราต้องขาย Asset ที่ถือครองทั้งหมดในภาพใหญ่แล้วทำกำไร

“ที่ผมเล่าให้ฟัง มันเป็นวิธีการสร้างความรวยแบบสุดๆ จากตลาดหุ้น หากเราเข้าใจกลไล Classic ที่ว่า คนส่วนใหญ่ในตลาดหุ้นเจ๊งเสมอ และวันที่คนกลัวสุดๆ วันนั้นเราต้องซื้อหุ้น ...และวันใดก็ตามที่เศรษฐกิจดูดี มีแต่ข่าวดี ทุกคนโลภสุดๆ วันนั้นต้องขายล้าง Port เพื่อทำกำไร --- “ซื้อถูก” เวลาคนส่วนใหญ่กลัว แล้วถือไปขายแพง ตอนคนส่วนใหญ่โลภ ...มันฟังดูง่ายจริงๆ แต่ถ้าคุณลองใช้เงินจริงๆ ของคุณเอง เชื่อผมเถอะว่า คุณต้องต่อสู้กับ Greed & Fear ในตัวของคุณเองอย่างมาก”
เครดิต : http://www.posttoday.com/%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88-%E0%B8%AB%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%99/%E0%B8%81%E0%B8%B9%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%99/250434/%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD-%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%AB%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%9C%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%9C%E0%B8%A7%E0%B8%99

October 01, 2013

พอร์ตหลังสหรัฐขยายเพดานหนี้ไม่ทันเวลา

โบรกฯ แนะลดพอร์ตหลังสหรัฐขยายเพดานหนี้ไม่ทันเวลา ชี้รอซื้อช่วงดัชนี 1,380-1,350 จุด กลุ่มแบงก์ สื่อสาร รับเหมาก่อสร้าง อสังหาริมทรัพย์
บทวิเคราะห์ บล.เคที ซีมิโก้ ระบุว่า 1. กรณีสภาอนุมัติงบประมาณปี 57 ไม่ทัน คาดว่าจะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจจำกัด โดย GDP สหรัฐฯ ปรับลดลง 0.27-0.50 ppt ในช่วงที่ต้องปิดหน่วยงานของรัฐชั่วคราว 20 วัน ในช่วงเดือนธันวาคม 1995 เนื่องจาก พนักงานรัฐที่ถูกให้มีการหยุดแบบ Unpaid Leave จะได้รับเงินคืนทั้งหมดในที่สุด ขณะที่ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับลดลงเพียง 3.7% โดยมีโอกาส 50% ที่สภาฯจะไม่สามารถผ่านงบฯ ได้ทันเส้นตาย
2. กรณีขยายวงเงินเพดานหนี้ไม่ทัน 17 ตุลาคมนี้จะมีผลกระทบต่อทั้งเศรษฐกิจ และตลาดการเงิน เนื่องจากไม่มีเงินเพียงพอต่อการใช้จ่ายและชำระหนี้ แต่ข่าวดีคือ เฟดจะยังคงนโยบาย QE ต่อไปจนถึงต้นปีหน้า โดยในอดีตเคยเกิดขึ้นเมื่อเดือนกรกฎาคมและสิงหาคม 2011 พบว่า ตลาดหุ้นสหรัฐฯ S&P 500 ดิ่งลงจากระดับ 1300 จุด ลงมาที่ระดับ 1100 จุด หรือ -15.4% / DJIA จาก 12724.41 (21/7) ลงมาที่ 10719.94 จุด (10/8) ภายใน 2 สัปดาห์ หรือลดลง 15.8% และ ราคาทองคำปรับขึ้น จาก $1596 ต่อออนซ์ (21/7) ไปที่ $1897 ต่อออนซ์ (23/8)
ดังนั้นแนวโน้ม หากสหรัฐไม่สามารถขยายเพดานหนี้ทันกำหนดเส้นตาย คือ 1. ตลาดหุ้นโลกลดลงแรง จากการขายทำกำไรเพื่อลดความเสี่ยงการผิดนัดชำระหนี้ 2. ยิลด์บอนด์สหรัฐฯ ปรับสูงขึ้นชั่วคราว จากการส่งสัญญาณเตือนหั่นเครดิตของสถาบันจัดอันดับ S&P, Moody ผิดนัดชำระหนี้ 3. ทองคำขึ้นไปทดสอบระดับ 1400 ดอลล์ต่ออนซ์ จากการซื้อสินทรัพย์ปลอดภัย
ทั้งนี้ นักลงทุนในตลาดส่วนใหญ่ ไม่คาดว่าจะเกิดปัญหานาน เพราะเป็นเรื่องเกมการเมือง ซึ่งส่วนใหญ่จะสามารถประนีประนอมกันได้ในวันสุดท้าย หรือ Delay ไม่นาน (จะเกิดการแรลลี่ หากสภาฯ อนุมัติการขยายเพดานหนี้)
อย่างไรก็ตาม แม้ตลาด คาดว่า สภาสหรัฐฯ จะสามารถหาข้อยุติได้ทันเส้นตาย แต่ก็ยังมีความเสี่ยงที่อาจเกิดประวัติศาสตร์ซ้ำรอยปลายปีก่อนอีกครั้ง เนื่องจาก เกมทางการเมืองระหว่าง 2 พรรค ที่ต่างไม่ยอมประนีประนอม ซึ่งจะยิ่งสร้างความกังวลให้กับตลาดมากขึ้น ซึ่งการที่รีพับลิกันยื้อให้โอบามายืดเวลาการเริ่มใช้กฎหมายปฏิรูประบบประกันสุขภาพออกไป จะทำให้นักลงทุนไม่มั่นใจในกระบวนการและความมั่นคงทางการคลังของสหรัฐฯ ซึ่งในปี 2011 ปัญหานี้ทำให้ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ร่วงลงอย่างหนัก ประกอบกับที่อัตราผลตอบพันธบัตรสหรัฐฯ ที่อยู่ในช่วงขาขึ้นอยู่แล้ว แม้ว่าจะปรับลดลงมาบ้าง จากที่เฟดยังคงปริมาณการซื้อสินทรัพย์ แต่ปัญหาเพดานหนี้จะเป็นการซ้ำเติมให้อัตราผลตอบพันธบัตรสหรัฐฯ กลับสูงขึ้นอีกได้ และจะเป็นผลลบต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯได้
ทั้งนี้การลดขนาด QE อาจเกิดขึ้นในเดือนธันวาคม หรือต้นปีหน้า หากสภาสหรัฐฯ ไม่อนุมัติงบฯ โดยผลสำรวจนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดเฟดเริ่มลดวงเงิน QE ในเดือน ธ.ค. โดยประเด็นการลดขนาด QE จะเป็นปัจจัยลบระยะสั้น ต่อการเคลื่อนย้ายเงินทุน โดยเฉพาะประเทศที่มีความเสี่ยงสูง (ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดสูง) เช่น อินเดีย อินโดนีเซีย ไทย ฯลฯ โดยคาดว่า การลดขนาด QE3 มีโอกาสสูงที่จะไม่เกิดขึ้นในปีนี้ หรือกรณีเร็วที่สุด อาจเกิดขึ้นในเดือนธันวาคม เพราะเฟดไม่ได้มีการส่งสัญญาณว่ามีการเตรียมตัวสำหรับการเริ่มต้นการลดขนาดการซื้อสินทรัพย์ (QE) แต่อย่างใด ยกเว้นการส่งสัญญาณว่าตลาดแรงงานมีการปรับตัวดีขึ้นอย่างมาก และเศรษฐกิจฟื้นตัวอย่างมีเสถียรภาพ รวมถึงกรณีสภาสหรัฐฯเกิดปัญหา Fiscal Cliff ทำให้มุมมองของการลดขนาด QE มีความเป็นไปได้สูงที่จะเกิดขึ้นในปีหน้า หรือรอจนกว่า งบประมาณปี 57F ของสภาสหรัฐฯได้ข้อยุติ และข้อมูลเศรษฐกิจส่งสัญญาณเติบโตอย่างต่อเนื่อง
ด้านบทวิเคราะห์ บล.ธนชาต ระบุว่า แม้ทางพื้นฐานจะยังมีมุมมองเป็นบวกต่อแนวโน้ม SET ระยะ 14 เดือนข้างหน้า ด้วยเป้าหมายปลายปี 2014 ที่ 1,650 จุด แต่ถ้าพิจารณาในเชิง Sentiment ควร “ลดพอร์ต” ในกรณีที่ปิดต่ำกว่า 1,410 จุด
สอดคล้องกับ บล.เคที ซีมิโก้ ที่ระบุว่า ให้ขายหุ้นออกไปก่อน เพื่อรอซื้อคืน เมื่อตลาดเกิด Panic Sell บริเวณ 1,380-1,350 จุด โดยเฉพาะหุ้นบลูชิพขนาดใหญ่ แบงก์ สื่อสาร และกลุ่ม High Beta รับเหมาฯ อสังหาฯ ส่วนหุ้นปันผลดี แนะนำ สะสมเมื่อราคาอ่อนตัว BTS BECL INTUCH SITHAI
ส่วนบล.โกลเบล็ก ระบุว่า ในช่วงระยะสั้นๆ ดัชนีจึงมีโอกาสซึมลงต่อโดยมีแนวรับถัดไปบริเวณ เส้นค่าเฉลี่ย 75 สัปดาห์แถว ๆ 1372 จุด สำหรับแนวต้านกรณีดีดกลับอยู่บริเวณ 1,442 จุด